แสร้งว่ากุ้ง เมนูชาววังที่ใคร ๆ ก็ทำทานเองที่บ้านได้

แสร้งว่ากุ้ง เมนูชาววังที่ใคร ๆ ก็ทำทานเองที่บ้านได้

เมนูนี้ในละครทีวีหลาย ๆ เรื่องมีการพูดถึง แสร้งว่ากุ้ง ให้พอได้ยินกันอยู่บ้าง เป็นอีกหนึ่งในเมนูอาหารไทยโบราณตำรับชาววัง ที่จัดอยู่ในประเภทยำหรือเครื่องจิ้ม โดยมีหน้าตาคล้ายกับพล่ากุ้ง แต่มักใช้กุ้งที่ย่างหรือลวกจนสุก ส่วนน้ำยำมีกลิ่นหอมของมะกรูด ขิง และตะไคร้ บางสูตรสามารถใส่น้ำเคยกุ้งหรือกะปิเพิ่มความหอมได้ จานนี้มักเสิร์ฟคู่กับเครื่องเคียงอย่างปลาดุกฟู แต่ละเมนูของอาหารไทยเรา ไม่แพ้เมนูอาหารประเทศอื่น ๆ เลย ทั้งเรื่องของรสชาติ และเรื่องของภาพลักษณ์ที่มีความโดดเด่น ยังไม่รวมถึงกระบวนการวิธีการทำอีก รวมแล้วคือสุดยอดมาก ๆ เลย

แสร้งว่ากุ้ง เมนูที่คนรักอาหารไทยต้องได้ลอง

ตัวแสร้งว่ากุ้ง นั้นจะโดดเด่นที่ตัวน้ำจิ้มปรุงด้วย ตะไคร้ ขิง หอมแดง ใบมะกรูด สะระแหน่ มะขามเปียก น้ำตาลปี๊บ และกุ้งนาง หน้าละม้ายกับยำหรือพล่า เสิร์ฟพร้อมด้วยเครื่องเคียงที่สลักเสลามาอย่างวิจิตรงดงาม สมดั่งชาววังทุกประการ เวลารับประทานก็ใช้ใบผักรอง ตักเครื่องจิ้มราด โรยหน้าด้วยปลาดุกฟูและเครื่องเคียงอื่นตามใจชอบ มาดูส่วนผสมกันว่ามีอะไรบ้าง ส่วนผสมแสร้งว่ากุ้ง

กุ้งย่างพอสุก  5  ตัว  หอมแดงซอย  50  กรัม   ตะไคร้ซอย  30  กรัม   ใบมะกรูดหั่นฝอย  2  ใบ  ขิงอ่อนซอย  30  กรัม   สะระแหน่เด็ดใบ  20  กรัม   น้ำมะขามเปียก  8  ช้อนโต๊ะ   น้ำปลา  3  ช้อนโต๊ะ  น้ำตาลปี๊บ  2  ช้อนโต๊ะ  น้ำมะนาว  1  ช้อนโต๊ะ  ปลาดุกฟู(เล็กน้อย)  พริกขี้หนูบุบพอแตก(เล็กน้อย)   ผักสดต่าง ๆ เช่น แตงกวา กะหล่ำปลี มะเขือเปาะ ถั่วฝักยาว

วิธีทำแสร้งว่ากุ้ง ดูเหมือนจะไม่ยุ่งยาก 

1.  นำกุ้งย่างปอกเปลือกแล่เป็นชิ้นบาง ๆยาว ๆ

2.  ปรุงน้ำยา ผสมน้ำมะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ น้ำมาะนาว ชิมรสเปรี้ยวเค็มหวาน ใส่พริกขี้หนูบุบพอแตก

3.  นำกุ้งที่เตรียมไว้คลุกเคล้ากับน้ำยำ ใส่ตะไคร้ซอย  หอมแดงซอย ขิงอ่อนซอย ใบมะกรูดหั่นฝอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน จัดเสิร์ฟกับผักสดตามชอบ

“ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เศร้าเจ้าดวงใจ” ส่วนหนึ่งจากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ “แสร้งว่า” เป็นอาหารโบราณที่จัดอยู่ในหมวดของยำ การปรุงน้ำยำที่มีเอกลักษณ์ตรงกลิ่นหอมนำของขิงและตะไคร้ การผสมผสานของนานาพืชผักสมุนไพรของไทย ให้ออกรสกลมกล่อม แต่แฝงไว้ซึ่งความร้อนแรงแบบยำไทย