แบ่งปันสูตรอาหารพื้นบ้านประจำภาคเหนือ อร่อยได้ทุกคนพร้อมสุขภาพที่ดี (2) อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่มีลักษณะแตกต่างกันจากการใช้วัตถุดิบประจำถิ่น พัฒนาสูตรอาหาร หรือได้รับมาจากวัฒนธรรมอื่นมาเพื่อประยุกต์ภูมิปัญญา ปรับปรุงรสชาติ ให้ถูกปากผู้คนในพื้นที่และอาจกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำชุมชนหนึ่งๆ
ซึ่งรวมถึงกระบวนการแปรรูปหรือถนอมอาหารไม่ว่าจะเป็น ปลาร้า ถั่วเน่า เนื้อแดดเดียว หรือน้ำพริก เป็นต้น นอกเหนือจากนั้นเมนูอาหารหลายชนิดยังช่วยเสริมสุขภาพในด้านต่างๆ ด้วย ดังนั้นผู้เขียนจึงมาแบ่งปันสูตรอาหารพื้นบ้านให้ได้ลองรับประทานกัน
เมนูพื้นบ้าน 02: น้ำพริกคั่ว
วัตถุดิบ:
- หอมแดงซอย 10 หัว
- กระเทียมไทย 4 หัว
- พริกแห้ง 14 เม็ด
- เกลือป่น 1 ช้อนชา
- น้ำมันพืช 4 ช้อนโต๊ะ
- ปลาเนื้ออ่อนตากแห้ง 60 กรัม *ควรเลือกซื้อปลาที่มีหนังแห้งสีน้ำตาลและมีกลิ่นหอม
- ถั่วเน่า 2 แผ่น
เครื่องเคียง:
- มะเขือเปราะสีเขียวหรือม่วง
- ขมิ้นขาว
- ใบมะกอก
- ผักโสนลวก
- ดอกขจรลวก
ขั้นตอนการปรุง
ขั้นที่ 1 เตรียมครกใส่พริกแห้ง กระเทียม และเกลือ โขลกให้ละเอียด และนำเนื้อปลาแห้งมาแกะใส่ภาชนะ ขั้นที่ 2 วิธีแรกย่างถั่วเน่าบนตระแกรงด้วยเตาแก๊สหรือเตาถ่าน จนแผ่นถั่วเน่ามีกลิ่นหอม วิธีที่สองหักแผ่นถั่วเน่าให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อนำไปคั่วบนกระทะจนหอมกรุ่นแล้วจึงพักไว้ในภาชนะ ขั้นที่ 3 ตั้งกระทะที่อุณหภูมิไฟปานกลาง ให้ใส่พริกโขลกที่เตรียมไว้เพื่อคั่วบนกระทะให้มีกลิ่นหอม ขั้นที่ 4 เติมน้ำมันพืชลงกระทะใบเดิม เมื่อร้อนจึงใส่เนื้อปลาแห้งลงเพื่อคั่วให้มีกลิ่นหอมและกรอบจึงนำมาพักไว้บนตะแกรง หลังจากนั้นใส้หอมแดงซอยเพื่อเจียวและพักบนตะแกรงเช่นกัน ปิดเตาแก๊ส ขั้นที่ 5 นำส่วนผสมทั้งถั่วเน่า หอมเจียว ปลาแห้งคั่ว และพริกแห้งคั่ว มาโขลกในครกให้ละเอียดและเป็นเนื้อเดียวกัน จัดลงใส่ถ้วยรับประทานคู่กับผักสดและผักลวกชนิดต่างๆ
น้ำพริกยาอายุวัฒนะฉบับพื้นบ้าน
อาหารหลากหลายชนิดที่เมื่อรับประทานเข้าไปจะช่วยให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายดียิ่งขึ้น สามารถพบเห็นได้ทั่วโลกอย่างเช่น การรับประทานปลาของชาวญี่ปุ่นที่ช่วยให้ผู้คนอายุยืน เป็นต้น สำหรับประเทศไทยก็มีอาหารชนิดที่ว่าด้วยและสังเกตได้ง่ายจากเมนูอาหารที่ผู้สูงอายุชอบรับประทานคือ น้ำพริก มักทานคู่กับผักสดและนึ่งซึ่งช่วยให้แต่ละมื้ออาหารมีรสชาติมากยิ่งขึ้น โดยสูตรแตกต่างกันตามภูมิภาคแต่วัตถุดิบหลักคือ พริก หอมแดง และกระเทียม มีสรรพคุณหลักเสริมระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ตลอดจนความเสี่ยงโรคเบาหวาน หัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก https://unsplash.com